ปลูกหนวด ปลูกเครา

ปลูกหนวด ปลูกเครา

การปลูกหนวดเคราในปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น ซึ่งสามารถทำการปลูกได้ทั้งคนไข้ที่มีหนวดเคราบาง หรือไม่มีหนวดเคราเลยตั้งแต่กำเนิด ,คนไข้ที่มีแผลเป็นจากอุบัติเหตุ หรือคนไข้ที่เป็นโรคขนร่วงเป็นหย่อม (ที่รักษาจนตัวโรคสงบแล้ว แต่หนวดเคราก็ยังไม่ขึ้นกลับมา)

 ขั้นตอนการปลูกหนวดเครา

  1. ออกแบบทรงหนวดเครา (โดยแพทย์ ร่วมกับความต้องการของคนไข้)
  2. เตรียมพื้นที่ และเส้นผมบริเวณหนังศีรษะ ที่จะคัดเลือกไปทำ
  3. เจาะเก็บกราฟจากเส้นผมที่หนังศีรษะ (1-3 ชม.)
  4. นำกราฟที่เจาะเก็บได้ ไปตัดตกแต่ง และคัดเลือกกราฟที่เหมาะสมที่สุด สำหรับนำไปปลูกถ่าย
  5. นำกราฟที่ผ่านการคัดเลือก มาปลูกเป็นหนวดเครา (1-4 ชม.)

*** ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 4-8 ชม. แล้วแต่ขนาดพื้นที่ที่จะทำการปลูก ***

*** คนไข้จะรู้สึกเจ็บเฉพาะขั้นตอนฉีดยาชา แต่จะไม่มีความรู้สึกใดๆขณะแพทย์ทำการปลูก หรือเจาะเก็บกราฟ ***

 ข้อควรรู้ของการปลูกหนวดเคราถาวร

– โดยปกติหนวดเครามักเป็นเส้นเดี่ยว และมีขนาดใหญ่ และความหนาแน่นจะมากที่สุดบริเวณหนวดและคาง 

– ส่วนใหญ่การเลือกเส้นขนหรือเส้นผมมาปลูก จะขึ้นกับจำนวนกราฟที่ต้องการใช้ ถ้าใช้จำนวนกราฟไม่มากนัก เช่น ปลูกเฉพาะหนวด หรือเคราแพะ  (500-1000 กราฟ) หรือปลูกเฉพาะรอยแผลเป็น สามารถใช้เคราบริเวณใต้คางมาปลูกได้ แต่ถ้าต้องการจำนวนกราฟมากขึ้น เช่นปลูกเคราทั้งบริเวณแก้ม ใต้คาง รวมถึงหนวด (2000 – 3500 กราฟ) จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้เส้นผมบริเวณศีรษะด้วย

– การปลูกหนวดเครา ควรมีการจัดเรียงทิศทางและความหนาแน่นให้เป็นไปตามธรรมชาติ จึงจะได้หนวดเคราที่มีความสวยงามมากที่สุด และโดยปกติแล้ว การปลูกหนวดเครามักจะมีการขึ้นของกราฟที่ดี เพราะเป็นบริเวณที่มีเลือดมาเลี้ยงมาก

 

การดูแลหลังปลูกหนวดเคราถาวร

– หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณกราฟแรงๆ ในช่วง 2-4 สัปดาห์แรก เพราะอาจทำให้กราฟหลุดได้ 

– สามารถโดนน้ำได้ตั้งแต่วันแรกหลังผ่าตัด (ล้างหน้าได้ แต่อย่ารุนแรงบริเวณกราฟที่ปลูก) ความชื้นจะทำให้กราฟขึ้นได้ดีอีกด้วย

– หลังปลูกหนวดเครา สามารถมีการบวมช้ำได้เล็กน้อย และสามารถหายไปได้เอง ในเวลาไม่นาน

– อาจมีความรู้สึกชาบริเวณปาก และหรือแก้มได้ ในช่วง 1-2 วันแรกหลังปลูก

– แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนในช่วง 1-2 วันแรกหลังปลูก เพื่อหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวบริเวณใบหน้าที่เยอะเกินไป